intro

ดาวเด่น

….

aw-icons_production-1
0

การผลิตยั่งยืน

รายละเอียด
aw-icons_market-1
0

ตลาดสีเขียว

รายละเอียด
aw-icons_food-service-1
0

แหล่งให้บริการอาหาร

รายละเอียด
aw-icons_hospital-1
0

โรงพยาบาลสีเขียว

รายละเอียด
aw-icons_school-1
0

โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กสุขภาวะ

รายละเอียด
aw-icons_citizen-1
0

ผู้บริโภคและพลังพลเมืองอาหาร

รายละเอียด

ดาวเด่นตลาดสีเขียว

หลาดใต้โหนด

ตลาดพื้นบ้านสีเขียว ที่ดำเนินการโดยเครือข่ายกินดีมีสุข ภายใต้สโลแกน “ของใช้ ของกิน งานศิลป์บ้าน ๆ” โดยมีบ้านของนายกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2539 ผู้ล่วงลับเป็นที่ตั้ง  เสน่ห์ของตลาดมีอยู่หลายประการ เช่น อาหารพื้นบ้าน ผลิตผลทางการเกษตรของท้องถิ่นที่หลากหลายจากผืนป่า นา เล โดยชาวบ้านและเกษตรกรตัวจริง ข้าวของเครื่องใช้ฝีมือคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด และเป็นแหล่งรวมกิจกรรมทางศิลปะของศิลปินในพื้นที่ที่แสนจะคึกคักภายใต้บรรยากาศเรียบง่าย

ที่ตั้ง : ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

เวลาทำการ : ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 15.00 น.

หลาดป่าไผ่สร้างสุข

จากความสำเร็จในการทำตลาดสีเขียว “หลาดใต้โหนด” เครือข่ายกินดีมีสุข จ.พัทลุง เห็นช่องทางการตลาดในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่แม้จะนิยมอัตลักษณ์พื้นบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็ชอบความทันสมัย จึงกลายเป็นที่มาของการร่วมมือกับชุมชนจัดตั้งตลาดสีเขียวป่าไผ่สร้างสุข ในปี 2560 วัตถุประสงค์ของที่นี่นอกจากต้องการให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยเน้นบรรยากาศความเป็นธรรมชาติ อาหารท้องถิ่นที่สะอาด ปราศจากสารปรุงแต่ง และงานหัตถกรรมพื้นบ้านแล้ว ยังต้องการให้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชน  และเป็นจุดนัดพบสำหรับผู้ผลิตและผู้บริโภคหัวใจสีเขียว ที่มีแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์เน้นธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายหรือสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก มีระบบการรับฝากขยะแทนการตั้งถังขยะ รวมทั้งเป็นเขตปลอดโฟมและพลาสติกร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจ และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างตลาดกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง

ที่ตั้ง : ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

เวลาทำการ : ทุกวันเสาร์ เวลา 08.00 – 15.00 น.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร จ.ยโสธร

ตลาดสีเขียว จ.ยโสธร บริเวณลานหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร เกิดจากความร่วมมือระหว่างชมรมรักษ์ธรรมชาติ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกยโสธร ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพรวัดท่าลาด เป็นองค์กรชาวบ้านที่รวมกลุ่มมานานกว่า 16 ปี โดยมีสโลแกนของตลาด คือ “เป็นธรรม ซี่อสัตย์ ช่วยเหลือ แบ่งปัน” เกษตรกรในอำเภอกุดชุม และอำเภอใกล้เคียง ซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และทำการผลิตแบบอินทรีย์เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และได้จัดตั้งตลาดสีเขียวแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ของการสร้างสายสัมพันธ์ ระหว่างผู้ผลิตในชนบทและผู้บริโภคในเมือง ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนความรู้และจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ ให้แก่เพื่อน ญาติพี่น้อง ในสังคมเมือง เปิดโอกาสให้เพื่อนมนุษย์เหล่านี้ มีทางเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และถึงมือผู้บริโภค โดยที่ผลผลิตเหล่านั้นไม่มีการใช้สารเคมีเลย นับเป็นกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

ที่ตั้ง : ซอยเทศบาล 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

เวลาทำการ : ทุกวันอังคาร เวลา 06.00 – 14.00 น.

Greenery market

แหล่งจำหน่ายและให้บริการอาหารปลอดภัยที่เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์  สนับสนุนการเข้าถึงอาหารปลอดภัย เป็นการขยายผลต่อยอดการสร้างเครือข่ายออนไลน์สู่ออฟไลน์   เพื่อให้เครือข่ายเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย Greenery Market ได้รวบรวมผู้ผลิตซึ่งเป็นเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ กลุ่มภาคีพันธมิตร องค์กรที่ดำเนินการขับเคลื่อนด้านผลผลิตเกษตรอินทรีย์ อาหารแปรรูปจากวัตถุดิบอาหารปลอดภัยมาจำหน่ายในตลาด นอกจากนั้นยังเปิดพื้นที่ให้กิจการเพื่อสังคมที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพได้มีช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น สร้างการรับรู้ให้แก่คนทั่วไปในวงกว้าง และยังเป็นต้นแบบในด้านการจัดการขยะในตลาดสู่ปลายทางที่มีการจัดการอย่างถูกต้อง รณรงค์การงดใช้โฟม หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งและบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก และส่งเสริมการพกภาชนะ อุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ภายในตลาดด้วย เพื่อสร้างวัฒนธรรมการบริโภคที่ปลอดภัย เสริมสร้างการมีสุขภาวะที่ดี รวมถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดยตั้งแต่พ.ศ.2559-2562 มีการจัดตลาดทั้งหมดจำนวน 22 ครั้ง มียอดรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 6,384,510 บาท โดยได้รับการสนับสนุนพื้นที่จากศูนย์การค้า และสถานประกอบการต่างๆ อาทิ ลานพลาซ่า สยามดิสคัฟเวอรี จากบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, บองมาร์เช่ มาร์เก็ตเพลส Park@Siam จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 101 True Digital Park เป็นต้น มีร้านค้าที่เป็นภาคีเครือข่าย และผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหารปลอดภัยเข้าร่วมจำนวนทั้งหมดประมาณ 30 ร้านต่อครั้ง  ผู้บริโภคมาร่วมกิจกรรมเฉลี่ยประมาณ ครั้งละ 1,500-2,000คน ทำให้เกิดกระแสรับรู้เรื่องอาหารปลอดภัยในพื้นที่ใจกลางเมืองที่ดี และทางพื้นที่มีความยินดีที่จะให้การสนับสนุนพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะสร้างการรับรู้ในการเข้าถึงอาหารปลอดภัย ทั้งกลุ่มที่บริโภคอยู่แล้วและสร้างการรับรู้สู่กลุ่มใหม่ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยได้

ที่ตั้ง : พื้นที่จากศูนย์การค้า และสถานประกอบการในจังหวัดกรุงเทพฯ